นายทุนขายฝากที่ดิน กับเรื่องควรรู้ก่อนเป็นนายทุน

Ballard Labs  > Lifestyle >  นายทุนขายฝากที่ดิน กับเรื่องควรรู้ก่อนเป็นนายทุน
0 Comments
นายทุนขายฝากที่ดิน

ปัจจุบันการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่นักลงทุนเนื่องจากมีความคุ้มค่าและสามารถต่อยอดได้ อีกทั้งยังให้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ผู้ขายฝากก็จะได้เงินก้อนไปใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ของตน ส่วนนายทุนขายฝากที่ดินก็ได้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย บทความนี้จะมาพูดถึงเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการผู้รับขายฝากที่ดินว่ามีอะไรบ้าง 

นายทุนขายฝากที่ดิน หมายถึง 

สำหรับความหมายของนายทุนขายฝากที่ดิน คือ ผู้ที่ลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ซึ่งทำสัญญาซื้อขายกรรมสิทธิ์โดยผู้ขายฝากจะสามารถไถ่ถอนคืนได้ก็ต่อเมื่อมีเงินมาใช้หนี้ครบเต็มจำนวนตามกำหนดในสัญญา ซึ่งสัญญานั้นจะมีรายละเอียดตรงกับข้อกฎหมาย เพื่อไม่ให้เกิดข้อเสียเปรียบทั้งสองฝ่าย ส่วนวงเงินมากสุดที่ผู้รับขายฝากจะได้รับเมื่อเทียบมูลค่าทรัพย์สินอยู่ที่ 40-60 เปอร์เซ็นต์โดยประมาณ ในบางกรณีของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ผู้รับขายฝากมีอำนาจต่อรองที่มากกว่าผู้ขายฝาก ส่งผลให้ผู้ขายเสียที่อยู่อาศัยหรือแปลงที่ดินสำหรับทำการเกษตร ฉะนั้นจึงต้องใช้กฎหมายมาคุ้มครองมากกว่าธุรกิจค้าขายอื่น ๆ เช่น นาย A เป็นผู้ขายฝากซึ่งอยู่ในพื้นที่เกษตรแล้วต้องการที่ดินแห่งนั้นมาเป็นทรัพย์สิน จึงต้องทำหนังสือและจดทะเบียนกับกรมที่ดิน ผู้ซื้อไม่สามารถกำหนดราคาซื้อคืนมากกว่าเมื่อเทียบราคาขายรวมกับ 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปีของราคาขายฝาก 

เงื่อนไขพิเศษของการทำสัญญาขายฝาก  

สัญญาขายฝากจะดำเนินการโดยนายทุนขายฝากที่ดิน แต่ผู้ขายฝากก็มีสิทธิ์ในทรัพย์สินของตนอยู่ เช่น การทำนา การค้าขาย และสิทธิ์นั้นจะหมดลงเมื่อผู้ขายฝากไม่สามารถนำเงินมาไถ่คืนได้ตามกำหนด แล้วทรัพย์สินของผู้ขายก็ตกเป็นของผู้ซื้อฝาก ผู้ขายมีกรรมสิทธิ์ในสินค้าทางการเกษตรอยู่แล้วจะต้องโอนผลผลิตให้ผู้รับขายฝากในเวลาหกเดือน ข้อควรระวังคือการทำสัญญาขายฝากจะต่างจากสัญญาจำนอง ต้องแยกทั้งสองแบบให้ออก ซึ่งเงื่อนไขการโอนกรรมสิทธิ์ก็แตกต่างกันอย่างชัดเจน การบริการก็ไม่เหมือนกันด้วย การขายฝากจะมอบกรรมสิทธิ์ที่ดินและไม่สามารถใช้ที่ดินของตนได้อย่างเต็มที่ ต่างจากการจำนองที่สามารถใช้ที่ดินของตนเองได้ เพียงแต่อยู่ในชื่อของผู้รับจำนอง 

จากบทความข้างต้นเป็นเรื่องที่ควรรู้ก่อนการเป็นนายทุนขายฝากที่ดินซึ่งทั้งผู้ขายฝากและผู้รับซื้อต้องทำสัญญาร่วมกัน โดยรายละเอียดต้องไม่อยู่นอกเหนือจากกฎหมาย เมื่อขายฝากที่ดินไปแล้วก็จะมีสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้นน้อยมากหรือไม่มีเลย จะได้รับคืนอีกครั้งเมื่อนำเงินมาใช้หนี้คืนครบ และระหว่างนี้ต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่นายทุนด้วย ตามกฎหมายแล้วจะเท่ากับ 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี